Player FM - Internet Radio Done Right
Checked 30m ago
Hozzáadva három éve
A tartalmat a TK Park biztosítja. Az összes podcast-tartalmat, beleértve az epizódokat, grafikákat és podcast-leírásokat, közvetlenül a TK Park vagy a podcast platform partnere tölti fel és biztosítja. Ha úgy gondolja, hogy valaki az Ön engedélye nélkül használja fel a szerzői joggal védett művét, kövesse az itt leírt folyamatot https://hu.player.fm/legal.
Player FM - Podcast alkalmazás
Lépjen offline állapotba az Player FM alkalmazással!
Lépjen offline állapotba az Player FM alkalmazással!
นิทานมีฤทธิ์ EP.9 นิทานที่เป็นมิตรต่อสมองและอารมณ์
Manage episode 343259184 series 3038815
A tartalmat a TK Park biztosítja. Az összes podcast-tartalmat, beleértve az epizódokat, grafikákat és podcast-leírásokat, közvetlenül a TK Park vagy a podcast platform partnere tölti fel és biztosítja. Ha úgy gondolja, hogy valaki az Ön engedélye nélkül használja fel a szerzői joggal védett művét, kövesse az itt leírt folyamatot https://hu.player.fm/legal.
เลือกนิทานที่ใช่ คือจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้เด็กรักหนังสือ . นิทานที่เราเห็นอยู่ตามห้องสมุด และร้านหนังสือมีอยู่เต็มไปหมด เล่มนี้ภาพสวย เล่มนี้สอนความรู้ เล่มนั้นก็ขายดี เล่มนี้มีรางวัลรับรอง มากมายขนาดนี้ เราจะเลือกนิทานแบบไหนดีนะ . นิทานมีฤทธิ์ ชวนฟังเคล็บลับดีดีในการเลือกนิทานภาพสำหรับเด็ก จากหลากหลายแง่คิด และมุมมองเลือกแบบไหนให้ถูกใจ เลือกอย่างไรให้คุ้มค่าต่อการพัฒนาสมองและอารมณ์
…
continue reading
281 epizódok
Manage episode 343259184 series 3038815
A tartalmat a TK Park biztosítja. Az összes podcast-tartalmat, beleértve az epizódokat, grafikákat és podcast-leírásokat, közvetlenül a TK Park vagy a podcast platform partnere tölti fel és biztosítja. Ha úgy gondolja, hogy valaki az Ön engedélye nélkül használja fel a szerzői joggal védett művét, kövesse az itt leírt folyamatot https://hu.player.fm/legal.
เลือกนิทานที่ใช่ คือจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้เด็กรักหนังสือ . นิทานที่เราเห็นอยู่ตามห้องสมุด และร้านหนังสือมีอยู่เต็มไปหมด เล่มนี้ภาพสวย เล่มนี้สอนความรู้ เล่มนั้นก็ขายดี เล่มนี้มีรางวัลรับรอง มากมายขนาดนี้ เราจะเลือกนิทานแบบไหนดีนะ . นิทานมีฤทธิ์ ชวนฟังเคล็บลับดีดีในการเลือกนิทานภาพสำหรับเด็ก จากหลากหลายแง่คิด และมุมมองเลือกแบบไหนให้ถูกใจ เลือกอย่างไรให้คุ้มค่าต่อการพัฒนาสมองและอารมณ์
…
continue reading
281 epizódok
Alle episoder
×1 Knowledge Exchange EP.61 “Why is ‘making change’ cool in Cologne City Library?” (Hannelore Vogt) 27:20
ห้องสมุดประชาชนเมืองโคโลญจน์ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงหนังสือและการอ่าน เครือข่ายห้องสมุดประกอบไปด้วยห้องสมุดกลาง ห้องสมุดสาขาย่อยอีก 11 แห่ง และ MINIBIB หรือห้องสมุดขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังมีรถห้องสมุด และจักรยานไฟฟ้าซึ่งทำหน้าที่เป็นเมกเกอร์สเปซเคลื่อนที่ให้บริการคนในชุมชน . ฮันเนลอร์ โวกท์ ผู้อำนวยการห้องสมุด ตระหนักดีว่าบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อรองรับผู้ใช้รุ่นเยาว์ที่พฤติกรรมการใช้งานแตกต่างไปจากเดิม ห้องสมุดประชาชนเมืองโคโลญจน์ จึงทำหน้าที่เสมือนเป็น ‘เมกเกอร์สเปซ’ คือไม่เพียงแต่ให้พื้นที่เพื่อส่งเสริมการอ่าน เขียน เรียนรู้ ทำกิจกรรมเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานห้องสมุดได้ทดลองลงมือทำ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรียนรู้และสร้างสรรค์ร่วมกัน เปลี่ยนแนวคิดในการทำงานจาก Lifelong Learning เป็น Lifelong Participation . ตัวอย่างกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่ห้องสมุดประชาชนเมืองโคโลญจน์คือ กิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่มีธีมใหม่ๆ มาดึงดูดความสนใจนักอ่าน กิจกรรมการเรียนรู้ด้าน STEM ที่รองรับผู้สนใจทุกระดับ ตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงวัยทำงานตอนต้น MINT Festival ที่รวมกิจกรรมการเรียนรู้สาย STEM กว่าร้อยรายการ นิทรรศการเคลื่อนที่ที่ย้ายไปจัดในห้องสมุดสาขาต่างๆ โดยทุกกิจกรรมให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เสมอ . ห้องสมุดประชาชนเมืองโคโลญจน์ มีทีมงานกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 7-8 คน ที่ทำหน้าที่คิดโปรเจกต์ทดลองที่ทันยุคสมัย โดยทีมงานกลุ่มนี้จะได้รับงบประมาณจำนวนหนึ่งจากห้องสมุด เพื่อลงมือทำโครงการที่ริเริ่มสร้างสรรค์ เพราะคติในการทำงานคือ “เมื่อผู้อื่นเริ่มลงมือทำ เราก็ถึงจุดที่เริ่มแก้ไขปัญหาแรกเรียบร้อยแล้ว”…
ธรพชรพรรณ พูลศรี (ต้นหลิว)
แคน กอมณี (แคน)
กิตติธัช ไกรวุฒิวงศ์ (พีเจ้น)
เพชร สุขพลัม (เพชร)
ณัฏฐ์ภพ พรพลานามัย (เจมส์)
ร่มเกล้า ช้างน้อย
ปริศนา กัมพูสิริ (โบว์ลิ่ง)
1 Knowledge Exchange EP.60 The Europe Challenge – Learnings from Libraries and Communities in Europe 30:38
มูลนิธิวัฒนธรรมยุโรป (The European Cultural Foundation) ริเริ่มโครงการ The Europe Challenge ที่ส่งเสริมให้ห้องสมุดและชุมชนร่วมมือกันแก้ไขปัญหาในพื้นที่ โครงการที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับเงินสนับสนุนจำนวน 10,000 ยูโร รวมถึงคำปรึกษาและการอบรมพิเศษ มีห้องสมุดและชุมชนต่างๆ เข้าร่วมโครงการแล้วเกือบ 100 แห่ง ทั้งห้องสมุดขนาดใหญ่ ห้องสมุดในเรือนจำ ห้องสมุดโรงเรียน และห้องสมุดที่อยู่บนเกาะห่างไกล ยกตัวอย่างเช่น . โครงการ #HACK โดยห้องสมุดอาร์ฮุสและกลุ่มเยาวชนในเมืองโรเซแลร์ ประเทศเบลเยียม เป้าหมายคือการเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้วัยรุ่นให้มากขึ้นผ่านกิจกรรมต่างๆ โดยมี ‘ฮีโร่ท้องถิ่น’ หรือเยาวชนอายุ 16-24 ปี ที่มีทักษะหลากหลายตั้งแต่โปรดิวเซอร์เพลงจนถึงนักออกแบบกราฟิก มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้กับเยาวชนอื่นๆ ผู้เข้าร่วมโครงการสะท้อนว่า ได้เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือกันและกัน รู้สึกใกล้ชิดกับห้องสมุด เสริมสร้างความสัมพันธ์ในชุมชนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น . โครงการ Restart and Repair โดยห้องสมุดประชาชนคอนเซสซิโอร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในประเทศอิตาลี มีเป้าหมายคือลดปริมาณขยะจากการบริโภคที่เกินพอดี ส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้ซ่อมแซมสิ่งของ และถ่ายทอดความเชี่ยวชาญด้านงานช่างในชุมชน จึงเกิดปาร์ตี้ ‘restart’ เดือนละครั้ง เพื่อเป็นที่นัดพบของอาสาสมัครและผู้ใช้งานห้องสมุดที่ต้องการซ่อมแซมของใช้ในบ้าน เมื่อดำเนินโครงการได้ประมาณ 1 ปี จัดงานไปแล้ว 15 ครั้ง มีผู้ร่วมงานเกือบ 500 คน ถือว่าช่วยชุมชนลดจำนวนขยะและประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก . โครงการ Co-creating Healthcare Solution โดยห้องสมุด เดอ ครูก ร่วมกับ Comon ชุมชนนักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยี และนักสร้างสรรค์ จากเมืองเกนต์ ประเทศเบลเยียม ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ จัดกิจกรรม Make-a-ton สำรวจปัญหา ระดมความคิดกับชุมชนจนได้โจทย์ “เราจะทำให้การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายสำหรับชาวเมืองได้อย่างไร?” . นักเรียนนักศึกษาพัฒนางานต้นแบบ และเปิด Experiment Café ให้ประชาชนและกลุ่มผู้ใช้ห้องสมุดได้ทดลองใช้ จนได้ผลิตภัณฑ์ที่นำไปพัฒนาต่อได้ 4 ชิ้นคือ Dolox สมาร์ทวอทช์ที่เป็นนาฬิกาตรวจจับระดับความเจ็บปวด RingMe โปรแกรมช่วยสื่อสารสำหรับคนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาให้เตรียมตัวพบแพทย์ได้สะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น Spexter ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น ExplainMed แอปพลิเคชันแปลรายงานทางการแพทย์ให้เป็นคำพูดที่เข้าใจได้ง่ายMia เว็บไซต์ช่วยค้นหาคำแนะนำทางจิตวิทยาที่เหมาะกับผู้ใช้แต่ละคน…
ห้องสมุดในบางประเทศได้รับการส่งเสริมสนับสนุนด้านงบประมาณและการสร้างเครือข่ายจากนโยบายระดับประเทศ ระดับเมือง หรือบางครั้งก็ระดับนานาชาติ แม้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมาย นโยบาย หรือแผนแม่บทที่ช่วยกำหนดทิศทางและสนับสนุนการทำงานของห้องสมุดอย่างเป็นรูปธรรม แต่ห้องสมุดหลายแห่งก็ปรับภารกิจเป็นเชิงรุก มุ่งทำงานเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม โดยเริ่มต้นจากกิจกรรมเล็กๆ ง่ายๆ ใช้ทรัพยากรที่ห้องสมุดมี ร่วมกับน้ำพักน้ำแรงของเครือข่าย เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อสังคมรอบข้าง . ห้องสมุดรังไหม - พาคาราวานหนอนหนังสือและทีมงานปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ห่างไกล จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่หลากหลายให้เยาวชนผู้ด้อยโอกาส เพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงการเรียนรู้ . ห้องสมุดแมวหางกิ้นส์ - จากหนังสือหนึ่งคันรถและแมวหนึ่งฝูง สู่ห้องสมุดเล็กๆ ที่กลายเป็นพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ ชวนเด็กๆ มาเรียนรู้จากกิจกรรม เช่น สำรวจผืนป่าที่เป็นเหมือนห้องเรียนธรรมชาติขนาดใหญ่ . ห้องสมุดยับเอี่ยนฉ่อย – ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ในย่านเมืองเก่าสงขลา เปิดกว้างให้ผู้คนทั้งในและนอกพื้นที่มาร่วมดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์ สานต่อวัฒนธรรมและภูมิปัญญาให้คงอยู่…
“หากต้องการสร้างเด็กให้เป็นคนช่างสงสัย พวกเขาต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยผู้ใหญ่ที่ใคร่รู้” . นี่คือ ข้อเสนอของ ดร.จูดี้ ฮัลเบิร์ต และ ดร.ลินดา เคเซอร์ ผู้ก่อตั้งเครือข่ายการศึกษาแบบสืบเสาะและการศึกษาพื้นถิ่น (NOIIE) ประเทศแคนาดา ทั้งคู่เคยสอนหนังสือและดำรงตำแหน่งครูใหญ่ในโรงเรียนมัธยมก่อนที่จะย้ายมาทำงานสายวิชาการที่มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย จึงมีประสบการณ์ด้านการศึกษาถึงกว่า 23 ปี . ทั้งคู่ร่วมกันเขียนหนังสือเกี่ยวกับ Inquiry-based Learning หลายเล่ม หนึ่งในนั้นคือ The Spiral Playbook ซึ่งแนะนำ ‘เกลียวแห่งการสืบเสาะ’ (The Spiral of Inquiry) เครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้สอนหันมาทบทวนว่า วัตถุประสงค์ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนคืออะไร ผู้เรียนต้องการอะไร ผู้สอนต้องศึกษาอะไรเพิ่มเติม และต้องทำอย่างไรถึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง กล่าวง่ายๆ คือการนำกระบวนการสืบเสาะมาใช้ออกแบบการสอนที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่นั่นเอง . ฟังการบรรยายเรื่อง “Sparking Curiosity through Spirals of Inquiry” โดย ดร.จูดี้ ฮัลเบิร์ต และ ดร.ลินดา เคเซอร์ ผู้อำนวยการเครือข่ายการศึกษาแบบสืบเสาะและการศึกษาพื้นถิ่น (NOIIE) ประเทศแคนาดา บันทึกจากงานสัมมนาสาธารณะ ‘Inquiry-based Learning ปลุกความสงสัย จุดไฟการเรียนรู้ตลอดชีวิต’…
ห้องสมุดทั่วสิงคโปร์นอกจากดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่แล้ว ยังได้รับความช่วยเหลือจากอาสาสมัคร ซึ่งมีบทบาทด้านการดูแลพื้นที่ แนะนำการใช้งาน และจัดกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมเล่านิทานซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุด . ‘อาสาดูแล’ คือโมเดลที่ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริการห้องสมุดแบบ 100% และ library@chinatown คือห้องสมุดแห่งแรกที่เริ่มใช้โมเดลอาสานี้มาดำเนินงาน โดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำ แต่การบริหารจัดการและการให้บริการทั้งหมดดำเนินงานโดยทีมงานอาสาสมัคร . ตัวอย่างโครงการซึ่งห้องสมุดสิงคโปร์ทำงานร่วมกับอาสาสมัคร ได้แก่ KidsREAD โครงการส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กอายุ 4-8 ปี ที่ด้อยโอกาสทั่วประเทศ ทีมอาสาสมัครมากกว่า 1,000 คน ช่วยทำกิจกรรมกับเด็กๆ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมงเป็นระยะเวลา 6 เดือน เพียงปีเดียว โครงการนี้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้ามากกว่า 3,200 คน . หัวใจสำคัญในการทำงานร่วมกับอาสาสมัครคือการสร้างความสัมพันธ์และบ่มเพาะความรู้สึกเป็นเจ้าของห้องสมุด กรณี library@chinatown มีป้ายประกาศอย่างชัดเจนว่า ห้องสมุดแห่งนี้ดำเนินงานโดยอาสาสมัคร พวกเขามีเครื่องแบบเพื่อแสดงตัวตนและสร้างความภาคภูมิใจ ห้องสมุดยังจัดพื้นที่พักผ่อนและพูดคุย รวมทั้งจัดงานเทศกาลเฉลิมฉลองตามวาระโอกาสต่างๆ ให้กับอาสาสมัคร . ฟัง...การบรรยายเรื่อง “Growing NLB’s Volunteer Community at library@chinatown and Beyond” บรรยายโดย เมลิสซ่า คาวาโซ (Melissa Kawasoe) ผู้จัดการห้องสมุดกลาง และ library@chinatown และ ลินเน็ตต์ คัง (Lynnette Kang) ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือ NLB ประเทศสิงคโปร์ บันทึกในโอกาสการประชุม TK FORUM 2023 “Library Possible: The Creative Solutions for Better Library Service”…
เมื่อปี 2009 ชายชื่อว่า ท็อด โบล ซึ่งอาศัยอยู่ในรัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา สร้างกล่องหนังสือใบเล็กๆ วางไว้ละแวกบ้านเพื่อเป็นเกียรติแก่มารดาของเขา สิ่งที่ดูเหมือนเล็กน้อยได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากมาย จนเกิดเป็นโครงการ Little Free Library หรือ ‘ตู้ปันอ่าน’ ปัจจุบันตู้หนังสือลักษณะนี้ขยายตัวออกไปทั่วโลก จนมีมากกว่า 150,000 แห่ง ใน 115 ประเทศ แม้กระทั่งกลางดินแดนน้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้ . Little Free Library เชื่อว่า ทุกคนควรได้อ่านหนังสือที่ตัวเองอยากอ่าน โดยไม่ต้องใช้ความพยายามมากนักหรือรอให้เป็นโอกาสพิเศษ บทบาทขององค์กรจึงเกี่ยวข้องกับการขยายโอกาสการเข้าถึงหนังสือ และสร้างแรงบันดาลใจในการอ่าน ด้วยการสนับสนุนให้อาสาสมัครเป็นกลไกสำคัญในการทำงานกับชุมชน . อาสาสมัคร ถูกเรียกกว่า ‘สจ๊วต’ หมายถึงคนในท้องถิ่นที่รับผิดชอบดูแลความเรียบร้อยของห้องสมุด จัดหาหนังสือ และสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน หลายคนอาจเข้าใจว่า “สร้างห้องสมุดไว้ เดี๋ยวคนก็มาเอง” แต่ความเป็นจริงไม่มีทางเป็นอย่างนั้น สจ๊วตอาจจะเดินเคาะประตูตามบ้าน เดินแจกใบปลิว หรือใช้โซเชียลมีเดีย เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้ว่า ตอนนี้ละแวกบ้านมีตู้หนังสือให้บริการแล้ว . ทำเลการตั้งตู้หนังสือเป็นไปได้หลากหลาย บางครั้งตั้งอยู่หน้าโรงเรียนเพื่อช่วยให้ผู้ปกครองเลือกหยิบหนังสือไปอ่านกับลูกหลังเลิกเรียน ตั้งไว้หน้าสถานีตำรวจเพื่อสร้างภาพลักษณ์เป็นมิตรและเข้าถึงง่าย ตั้งอยู่ในสวนสาธารณะหรือห้างร้านเพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ แม้แต่ห้องสมุดประชาชนบางแห่งก็ตั้งตู้หนังสือไว้ในชุมชน เพราะประหยัดงบประมาณกว่าการทำห้องสมุดเคลื่อนที่ สจ๊วตจะพิจารณาคัดเลือกหนังสือโดยคำนึงถึงลักษณะของชุมชนนั้นๆ เช่น หากมีประชากรวัยเด็กจำนวนมากก็จะเลือกหนังสือนิทานไว้ให้บริการ . Little Free Library ได้รับรางวัลองค์กรการรู้หนังสือ จากสภาการรู้หนังสือโลก ผู้สนใจทำตู้ปันอ่านสามารถสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายทางเว็บไซต์ littlefreelibrary.org เมื่อห้องสมุดแต่ละแห่งเข้าไปปักหมุดของตนไว้ในแผนที่ ผู้ใช้บริการทั่วโลกก็จะสามารถค้นหาทรัพยากรการอ่านที่อยู่ใกล้ตัวได้ง่าย . ฟัง... การบรรยายเรื่อง “Book-Exchange Networks: Connecting Community with Readers for Everyday Book Access” โดย เกร็ก เมตซเกอร์ (Greig Metzger) ผู้อำนวยการบริหาร Little Free Library สหรัฐอเมริกา บันทึกในโอกาสการประชุม TK FORUM 2023 “Library Possible: The Creative Solutions for Better Library Service”…
1 KnowledgeExchange EP 56. Residents - Tourists Sharing, Beautiful Life Enjoying - Practice... 18:25
ไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนเปิดตัวห้องสมุดหลายแห่งซึ่งสร้างกระแสฮือฮาในโลกอินเทอร์เน็ต ห้องสมุดกลายเป็นหมุดหมายห้ามพลาดสำหรับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะคนวัยหนุ่มสาว เงื่อนไขสำคัญคือ ในปี 2018 กระทรวงวัฒนธรรมและสำนักการท่องเที่ยวของจีน ได้ถูกควบรวมเป็นหน่วยงานเดียวกันชื่อว่า กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวแห่งชาติ ทำให้เกิดการบูรณาการกันอย่างกลมกลืนระหว่างสถาบันด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวในภูมิทัศน์แบบใหม่ . สถิติ ปี 2019 ระบุว่า จำนวนคนเข้าห้องสมุดมีมากกว่าจำนวนคนซึ่งไปสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมถึง 2 เท่า ห้องสมุดมีข้อได้เปรียบด้านการเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรต่างๆ และสามารถช่วยเสริมสร้างบริการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้แข็งแกร่ง ปัจจุบันทั้งภาครัฐและเอกชนหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านห้องสมุดมากขึ้น กรณีที่น่าสนใจ ได้แก่ ห้องสมุดซิ่วโจว ห้องสมุดฉิงเหอ และห้องสมุดคุนหมิง . ดัชนีหรือองค์ประกอบความสำเร็จในการเชื่อมโยงห้องสมุดกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว สามารถจำแนกได้เป็น 4 ด้าน ด้านแรก สิ่งดึงดูดใจด้านธรรมชาติหรือกายภาพ เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อาคาร สถาปัตยกรรม ด้านที่สอง สิ่งดึงดูดใจเกี่ยวกับตัวบุคคล เช่น บุคคลมีชื่อเสียงในอดีต นักปราชญ์ นักเขียน เซเลบริตี้ ถัดมาคือ สิ่งดึงดูดใจเชิงสังคม คือ การบูรณาการห้องสมุดเข้ากับภาคส่วนอื่นๆ เช่น ห้องสมุดร่วมมือกับที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว หรือสายการบิน จัดทำคอลเลกชันพิเศษเพื่อให้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวหรือบริการ และด้านสุดท้ายคือ สิ่งดึงดูดใจจากการให้บริการ เช่น การจัดกิจกรรม ให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว จุดชมทิวทัศน์ . ฟัง… การบรรยายเรื่อง “Residents - Tourists Sharing, Beautiful Life Enjoying - Practice, Experience and Prospect for the Integrated Development of Library and Tourism” บรรยายโดย ดร. หยาง หลี่ (Asst. Prof. Yang Li) อาจารย์สาขาการศึกษาและวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหางโจวเตี้ยนจื่อ ประเทศจีน บันทึกในโอกาสการประชุม TK FORUM 2023 “Library Possible: The Creative Solutions for Better Library Service”…
หนังสือราคาแพงเกินไปหรือไม่? . หนังสือในตลาดมีความหลากหลายมากพอไหม? . นี่คือสองประเด็นที่มักจะถูกหยิบยกมาเอ่ยถึง เมื่อมีการตั้งคำถามว่า “คนไทยมีโอกาสเข้าถึงหนังสือได้มากน้อยแค่ไหน” และ “อะไรคืออุปสรรคในการเข้าถึงหนังสือ” . สื่ออิเล็กทรอนิกส์ Data Storytelling ชุด “LOOK AROUND THE SHELF” รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตลาดหนังสือของไทยในฝั่งผู้ผลิตมานำเสนอให้เข้าใจง่าย เริ่มด้วยการนำข้อมูลมาอธิบายพฤติกรรมการอ่าน แม้ยอดขายหนังสือจะมีขึ้นลงตามปัจจัยที่ต่างกันไปในแต่ละปี แต่แนวโน้มที่เห็นได้ชัดคือ คนไทยอ่านหนังสือเล่มลดลง . ตามมาด้วยการเจาะประเด็นความหลากหลายในเชิงหมวดหมู่หนังสือ ที่ข้อมูลชี้ให้เห็นว่า นวนิยาย การศึกษา และหนังสือเด็ก ครองสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดมานานหลายปี แม้หลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะบ่งบอกว่า มีความหลากหลายของเนื้อหาหรือไม่ . ประเด็นสำคัญคือ ราคาหนังสือ ที่ในภาพรวมถือว่าสูงเมื่อนำมาเทียบกับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยไม่สามารถตัดสินใจซื้อหาได้ทันที โดยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการกำหนดราคาคือขนาดของสำนักพิมพ์ . ในเมื่อมีปัจจัยราคาเป็นโจทย์สำคัญ ภาคส่วนต่างๆ ควรทำอย่างไร เพื่อขับเคลื่อนให้คนไทยมีโอกาสเข้าถึงหนังสือและการอ่านได้อย่างเท่าเทียม? . ฟัง “ตลาดหนังสือไทย อะไรเป็นอุปสรรคการเข้าถึงการอ่าน” โดย วัฒนชัย วินิจจะกูล รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันอุทยานการเรียนรู้ บันทึกในโอกาสงานเสวนาและเปิดตัวสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ Data Storytelling ชุด “LOOK AROUND THE SHELF”…
Üdvözlünk a Player FM-nél!
A Player FM lejátszó az internetet böngészi a kiváló minőségű podcastok után, hogy ön élvezhesse azokat. Ez a legjobb podcast-alkalmazás, Androidon, iPhone-on és a weben is működik. Jelentkezzen be az feliratkozások szinkronizálásához az eszközök között.